ปก_รถติดแก๊ส LPG ปัญหาที่พบบ่อยและวิธีเช็คเบื้องต้น - หงษ์ทองแก๊ส ติดแก๊สรถยนต์มาตรฐานสูง

รถติดแก๊ส LPG ปัญหาที่พบบ่อยและวิธีเช็คเบื้องต้น

รถติดแก๊ส LPG ปัญหาที่พบบ่อยและวิธีเช็คเบื้องต้น

รถติดแก๊ส LPG ปัญหาที่พบบ่อยและวิธีเช็คเบื้องต้น มีอะไรบ้าง ทำอย่างไร? คือคำถามที่ทั้งลูกค้าและคนที่จะเอารถมาติดตั้งแก๊สกับหงษ์ทองแก๊สถามเข้ามาบ่อยมาก เราจึงตั้งใจทำวิดีโอไลฟ์สดและอธิบายรายละเอียดในบทความนี้ เพื่อเป็นคำตอบสำหรับทุกคน กล่าวคือ ต้องบอกว่านี่คือความเข้าใจที่ผิด! เกี่ยวกับรถติดแก๊ส lpg โดยเฉพาะสำหรับคนที่ยังไม่เคยใช้รถติดแก๊สมาก่อน คุณอาจจะมีเหตุมากมายที่ “กลัว” เช่น ติดแก๊สอันตรายไหม? เครื่องยนต์จะพัง วาล์วยัน ฯลฯ แต่ถ้าลองถามคนที่ใช้รถติดแก๊สจริง ๆ มีความเข้าใจหรือศึกษาข้อดีข้อเสียของรถติดแก๊สอย่างดี สิ่งที่คุณกังวลมันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลย อีกทั้งคุณจะรู้ดีว่าประโยชน์หรือข้อดีของการใช้รถติดแก๊สเป็นอย่างไร?

ข้อดี/ประโยชน์ รถติดแก๊ส lpg

  • ประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้นแน่นอน >50% เพราะราคาแก๊สถูกกว่าน้ำมัน
  • เทคโนโลยีระบบแก๊ส,อุปกรณ์แก๊ส, มาตรฐานการติดตั้งแก๊ส และการปรับจูนแก๊ส มีการพัฒนาล้ำหน้าไปมากในปัจจุบัน
  • ขณะที่คุณขับขี่ คุณจะรู้สึกได้ทันทีถึง อัตราเร่งที่ดีกว่า อัตราสิ้นเปลืองที่ต่ำกว่า ตามสภาพการใช้งานจริงของคุณ
  • มั่นใจได้เลยว่า ประสิทธิภาพการขับขี่, ความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์ และที่สำคัญความปลอดภัยในการใช้รถติดแก๊สมีมาตรฐานที่สูงมาก

ดังนั้น ปัญหารถติดแก๊ส lpg จะเกิดขึ้นหรือไม่ขึ้นอยู่ว่า…ถ้าคุณติดตั้ง,ตรวจสภาพ,เช็คระยะซ่อมบำรุง กับร้านติดตั้งแก๊สที่ได้มาตรฐาน มีอุปกรณ์แก๊ส เทคโนโลยี ทีมช่างที่ชำนาญเชื่อถือได้ เป็นประจำตามที่คู่มือรถกำหนด หรือตามเกณฑ์ที่กรมขนส่งฯ กำหนด ซึ่งนี่จะทำให้คุณไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายครั้งละมาก ๆ ในการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนอุปกรณ์แก๊ส ส่วนหลายคนที่มักถามว่า ซื้อรถติดแก๊สมือสองดีหรือไม่? หรือซื้อรถแล้วเอามาติดแก๊สดีหรือไม่? สาเหตุทุกคนที่ลังเลหลัก ๆ อาจจะเป็นเพราะ

  1. เป็นช่วงที่ราคาน้ำมันไม่ได้สูงมาก
  2. ความเข้าใจผิด ๆ ว่าใช้รถติดแก๊สไม่ดี
  3. กลัวเครื่องยนต์มีปัญหา
  4. ติดแก๊สแล้วประหยัดจริงหรือไม่
  5. ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงสูงกว่ารถใช้น้ำมัน ฯลฯ

Loading

Loading

รถติดแก๊ส LPG ปัญหาที่พบบ่อย เช่น  

  • นาฬิกาแก๊ส / สวิทช์แก๊สไม่ตรง 

ปกติสวิทย์แก๊สทำหน้าที่บอกระดับเชื้อเพลิง โดยมีเซ็นเซอร์รับสัญญาณจาก นาฬิกาแก๊ส ที่อยู่ด้านหลังถังแก๊ส กล่าวคือ ภายในมัลติวาล์วที่ติดตั้งอยู่กับถังแก๊ส (ทั้งถังแคปซูลและถังโดนัท) จะมีขดลวดซึ่งส่วนใหญ่มีค่าความต้านทาน หรือค่าโอห์ม (R) อยู่ที่ประมาณ 90 โอห์ม, 110 โอห์ม และมีนาฬิกาแก๊สเป็นตัวส่งสัญญาณไปยังสวิทช์ ทั้งนี้ บางครั้งการที่นาฬิกาแก๊สไม่ตรง สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยแบ่งเป็น 2 กรณีหลัก ๆ ที่มักเกิดในช่วงแรกหลังติดตั้ง อาทิ

1.) วาล์วที่ถังแก๊สอาจจะค้าง แต่กรณีนี้มีโอกาสเกิดได้น้อยมาก

2.) การตั้งค่านาฬิกาแก๊สไม่ตรง อาการคือเติมแก๊สเต็มถังแต่ไฟเลเวลที่สวิทช์แก๊สไม่ขึ้น หรือขึ้นเต็มแต่ความจริงแก๊สหมด หรือขึ้นค้างสีแดงนานก่อนแก๊สจะหมด

นอกจากนั้น ในช่วงสัปดาห์แรกหลังติดตั้งเสร็จใหม่ ๆ จะเป็นช่วงที่ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์แก๊สต่าง ๆ กำลัง Run in ในระบบ จึงมีโอกาสที่เข็มนาฬิกาแก๊ส จะแกว่งขึ้น-ลงบ้าง ทำให้หลายคนที่ไม่เข้าใจ อาจตกใจแล้วกังวลไปก่อนว่าเกิดความผิดปกติหรือไม่ ตรงนี้ต้องบอกว่า หลังติดตั้งแก๊สเสร็จเรียบร้อย หงษ์ทองแก๊สจะย้ำเสมอว่า ให้ลูกค้าขับแก๊สถังแรกที่เราเติมให้หมดเกลี้ยงถังก่อน! เพื่อให้ระบบแก๊ส อุปกรณ์ และกลไกต่าง ๆ ปรับสภาพการทำงาน ให้วาล์วยกขึ้น-ลงสักพักและเกิดการใช้งานสูงสุด อย่างน้อยประมาณ 2,000-3,000 กม. ซึ่งหากเกิดปัญหาจริง ๆ เราจะได้วิเคราะห์ง่ายขึ้นและถูกต้อง

อีกทั้ง การใช้งานรถติดแก๊ส ส่วนใหญ่รถแต่ละรุ่นจะเหมือนกันคือ ตอนสตาร์ทรถ ระบบไฟทั้งหมดจะกระพริบ (แปลว่ายังเป็นน้ำมัน) โดยระบบจะเปลี่ยนเป็นแก๊ส ด้วย 2 เงื่อนไข คือ 1.อุณหภูมิหม้อต้ม ถึงจุดที่กำหนด ปกติราว ๆ 45-50 องศา และ/หรือ 2.ต้องเหยียบคันเร่งให้รอบถึง ซึ่งชุดแก๊สบางยี่ห้ออย่าง AC, OMVL อาจจะเพิ่มเงื่อนไขนี้ สมมติว่าตั้งไว้ที่ 1,500 รอบ หลังจากไฟกระพริบแล้ว บวกกับอุณหภูมิหม้อต้มถึง รอบถึง ระบบจึงจะเปลี่ยนเป็นแก๊ส วิธีสังเกตง่าย ๆ คือไฟตรงกลางสวิทช์แก๊สจะขึ้นค้าง แปลว่า เป็นระบบแก๊สแล้ว

ส่วนกรณีที่ใช้งานกันไปสักพักใหญ่ ๆ แล้วเกิดอาการสวิทช์แก๊ส / นาฬิกาแก๊สไม่ตรง มักเกิดกับการติดตั้งถังโดนัทใต้ท้อง เนื่องจากจากสภาพแวดล้อมในการใช้งาน เช่น โดนน้ำ/ฝน ความชื้น ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ส่วนนั้นจะมีฝาครอบวาล์วปิดเอาไว้อีกชั้นซึ่งช่วยได้ระดับหนึ่ง แต่สิ่งสำคัญที่จะป้องกันปัญหานี้คือควรเลือกติดตั้งแก๊ส lpg กับอู่/ร้านติดแก๊สที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ เลือกใช้อุปกรณ์แก๊สที่มีคุณภาพ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าการใช้งานและปลอดภัยสูงสูง (เนื่องจากปัจจุบันมีของปลอม ผลิตไม่ได้มาตรฐาน ราคาถูก วางจำหน่ายในตลาดจำนวนมาก)

  • แก๊สตัดกลับเป็นน้ำมันเอง / เข้าแก๊สไม่ได้

หลายคนอาจจะเคยเจาะปัญหานี้ สมมติว่าตอนขับอยู่แล้วแก๊สตัดกลับเป็นน้ำมันเอง หรือเข้าแก๊สไม่ได้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เหตุผลแรกเป็นเพราะแรงดันแก๊สในระบบลดลงต่ำกว่าตัวเลขที่ตั้งค่าไว้ ยกตัวอย่างพอให้เห็นภาพคือ สมมติเราตั้งค่าแรงดันแก๊สไว้ที่ 1 บาร์ (ปกติอาจจะ 1.2,1.4 บาร์) บางทีอุปกรณ์แก๊สหลายยี่ห้อจะตั้งค่าในโปรแกรมไว้แล้ว เช่น ถ้าแรงดัน 1 บาร์ ระบบจะสั่งให้แก๊สตัดกกลับเป็นน้ำมันที่ 0.6 บาร์ หรือ 40% ของแรงดันที่ตั้งไว้ในการใช้งาน เพื่อให้เครื่องยนต์ไม่สะดุดเวลาแก๊สเริ่มหมดหรือแรงดันตก ซึ่งเราจะรู้สึกว่าเหมือนรถวิ่งไม่ออก  ส่วนถ้าเป็นแรงดันหม้อต้ม ไม่ควรตกเกิน 0.2 บาร์ หรือต่ำกว่า 20%

นอกจากนั้น ในระบบติดตั้งแก๊ส LPG จะมี MAP Sensor หรือเซ็นเซอร์วัดแรงดันและอุณหภูมิแก๊สในระบบ ที่ติดตั้งอยู่ติดกับกรองแก๊สที่ต่อจากหม้อต้ม เป็นตัวอ่านค่าแรงดันและส่งไปยัง ECU แก๊ส ดังนั้น หาก MAP Sensor จับได้ว่าแรงดันในระบบไม่ถึง 40% ระบบจะตัดกลับเป็นน้ำมัน โดยค่าแรงดันตรงนี้สามารถตั้งให้เพิ่ม/ลดลงได้ในโปรแกรม รวมถึงหากโซลินอยด์แก๊สไม่ทำงาน (ไม่ยก) หรือกรณีที่เกิดแก๊สรั่วในปริมาณมาก ๆ ท่อหลุด ฯลฯ ซึ่งทำให้แรงดันตก ระบบก็จะตัดกลับเป็นน้ำมันอัตโนมัติเช่นกัน

ส่วนอีกกรณีคือในระบบซอฟต์แวร์ของ ECU แก๊ส จะมีรหัสตรวจสอบ error code อยู่หลายตัว และแจ้งเตือนเมื่อเกิดความผิดปกติ โดย error code มีทั้งที่อันตรายและไม่อันตราย error code ที่อันตราย เช่น ถ้าเซ็นเซอร์, สายไฟ หรืออุปกรณ์ในระบบแก๊สเกิดมีปัญหา อีซียูแก๊สจะสั่งตัดกลับน้ำมัน โดยชุดแก๊สบางยี่ห้อระบบแก๊สจะไม่ทำงานเลย บางยี่ห้ออาจยังทำงานอยู่แต่เครื่องจะสั่น

สำหรับวิธีเช็คเบื้องต้น เมื่อเกิดกรณีที่แก๊สตัดกลับน้ำมัน ให้ดับเครื่องแล้วกดที่สวิทช์แก๊สค้างไว้และบิดสตาร์ท เพื่อเช็คว่าสามารถเข้าระบบแก๊สได้หรือไม่ ถ้าระบบไม่ทำงาน เสียงสัญญาณแจ้งเตือนจะดังขึ้น ส่วนวิธีแก้ไขเบื้องต้นด้วยตัวเองคือ ตรวจสอบความเรียบร้อยของอุกรณ์ สายไฟ ปลั๊ก และข้อต่อต่าง ๆ ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ บางครั้งอาจหลวมหรือชำรุด ซึ่งหากไม่แน่ใจควรนำรถเข้ามาตรวจสอบที่ร้านติดตั้งแก๊ส

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

  • หม้อต้มหอน เครื่องสั่น เข้าแก๊สไม่ได้

อย่างที่บอกว่ หลังติดตั้งเสร็จใหม่ ๆ ระบบกำลัง Run in หรือเพิ่งเปลี่ยนอุปกรณ์มาใหม่ เป็นธรรมดาที่บางครั้งบางอุปกรณ์อาจจะมีดีเฟคบ้าง เช่น ได้ยินเสียงหัวฉีด เสียงหม้อต้ม ฯลฯ แต่หลังจากใช้งานกันไปสัก 2-3 เดือนแล้วยังไม่หาย ยกตัวอย่าง “หม้อต้ม” มีอาการหม้อต้มหอน เครื่องสั่น แรงดันไม่เสถียร เข้าแก๊สไม่ได้ ฯลฯ แนะนำว่าให้นำรถมาเช็คที่ร้านติดตั้งแก๊ส ซึ่งข้อสันนิษฐานแรกต้องบอกว่าอาจจะเป็นกรณีที่ลูกค้าซื้อของไม่ได้คุณภาพมา แล้วให้ร้านติดตั้งแก๊สเปลี่ยนให้ อันนี้หัวจะปวดทีหลังแน่นอนไม่ต้องสงสัย หรือกรณีที่เป็นของแท้ก็จริง แต่บางทีบางล็อตการผลิตอาจจะมีปัญหา โดยเฉพาะตัวโซลินอยด์ด้านใน

อาการที่จะเจอกันบ่อย ๆ ถ้าใช้หม้อต้มไม่ได้มาตรฐาน ให้สังเกตตอนเช้า (เครื่องเย็น) สตาร์รถและขับไปสักพัก พออุณหภูมิเครื่องและอุณหภูมิน้ำในหม้อต้มร้อนถึงค่าที่ตั้งไว้ แต่ดันเข้าแก๊สไม่ได้ พร้อมเสียงสัญญาณแจ้งเตือนดัง หรือบางทีเข้าแก๊สได้แล้วดับ เป็นเพราะอาจจะมีคาบยางเหนียว ๆ อยู่ตรงแกนโซลินอยด์ของหม้อต้ม แต่พอขับไปสัก 10 นาที เครื่องร้อนทำให้คราบยางละลาย ระบบถึงจะอนุญาตให้เข้าแก๊สได้

Prins VSI-DI เทคโนโลยีการติดแก๊ส lpg เครื่องยนต์ Direct Injection อันดับหนึ่งของโลก

  • เลือกใช้อุปกรณ์แก๊สที่ไม่ได้มาตรฐาน / ของปลอม

ปัญหานี้เกิดขึ้นบ่อยมาก ๆ เพราะรู้ไม่เท่าทัน อย่างหลายคนที่เราเจอคิดว่าซื้ออุปกรณ์แก๊สที่ขายผ่านออนไลน์ ราคาถูกกว่า แล้วเอาไปเปลี่ยนที่ร้านแก๊ส จะได้คุณภาพมาตรฐานสมกับยี่ห้อ/สเปคที่ซื้อมา แต่หารู้ไม่ว่าคุณอาจจะเจอ “ของปลอม” เข้าให้อย่างจัง! หรือบางทีอาจจะเป็นของที่ผลิตเลียนแบบ หรือสินค้าคล้ายกันทนแทนกันได้ แต่ไม่ได้มาตรฐาน ตัวนี้เป็นอีกสิ่งที่สร้างปัญหาใหญ่ให้วงการติดตั้งแก๊สรถยนต์ เพราะอะไร?

ลองคิดดูว่าคนที่เลือกติดตั้งแก๊ส lpg  นอจากความประหยัดแล้ว สิ่งที่ลูกค้าทุกคนคาดหวังคือ ต้องมีมาตรฐานความปลอดภัยสูงที่สุด ต้องไม่อันตราย ต้องไม่ทำให้เครื่องยนต์เสียหาย/มีปัญหาทีหลัง ไม่อยากเสียเงินค่าซ่อมจุกจิกหรือแพง ๆ เกิดความคุ้มค่าการใช้งานมากที่สุด จริงหรือไม่? ดังนั้น ต้องถามกลับว่า มันคุ้มที่จะเสี่ยงหรือต้องเสียเงินค่าซ่อมแพง ๆ ในอนาคตหรอ ตรงนี้เราได้ไม่คุ้มเสียนะครับ เพราะฉะนั้น การเลือกอุปกรณ์ที่มีคุณภาพดี ราคาอาจจะสูงขึ้นเล็กน้อย บวกกับการติดตั้งที่ได้มาตรฐาน และการปรับจูนที่สมบูรณ์ คุณอาจจะจ่ายแพงในวันแรก แต่มันจะ “ไม่แพง” เลยในระยะยาว แถมประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า คืนทุนเร็วเพียงไม่กี่เดือน และไม่ต้องเอาชีวิตไปเสี่ยง

  • รถสตาร์ทติดยากตอนเช้า

รถสตาร์ทติดยาก อาการชวนหงุดหงิดที่เกิดได้จากหลายปัจจัย สาเหตุแบ่งเป็น 2-3 กรณี 1.) สตาร์ทรถยากตอนเช้า (ปกติสตาร์ทด้วยน้ำมันอยู่แล้ว) อาจจะเกิดจากน้ำมัน ปั๊มติกรั่ว ถ้าในระบบแก๊สต้องดูว่าใช้แก๊สมานานหรือยัง ใช้อีซียูแก๊สยี่ห้อะไร และรางหัวฉีดเป็นรุ่นอะไรใช้มานานเท่าไหร่ กรณีที่ 2.) เป็นไปได้ว่าหัวฉีดรั่ว โดยเฉพาะหัวฉีดรุ่นเก่า ๆ ที่เป็นด้านในเป็นสปริง อาการที่พบคือสปริงมันดีดแล้วหัวฉีดปิดไม่สนิท (ไม่ใช่รั่วออกมาด้านนอก) ทำให้เวลาดับเครื่องหรือไม่ใช้งานนาน ๆ 7-8 ชม. แก๊สอาจจะซึมมาค้างอยู่ในท่อไอดี ทำให้เชื้อเพลิงหนาเกินไปในช่วงแรก จึงเป็นสาเหตุให้รถสตาร์ทติดยากตอนเช้า สามารถตรวจเช็คได้ผ่านโปรแกรม โดยดูที่ค่าแรงดันแก๊สในระบบ หลังสตาร์ทแล้ว ถ้าแรงดันค่อย ๆ ตกจนต่ำกกว่าที่ตั้งค่าไว้แปลว่าหัวฉีดรั่ว อีกวิธีคือถอดเข็มขัดรัดท่อยางที่ต่อเข้ากับรางหัวฉีด เอามืออุดปลายรางไว้ แล้วลองสตาร์ทรถ ถ้ารู้สึกว่ามีแรงดูดที่นิ้วของเรา แปลว่าหัวฉีดไม่รั่ว เป็นต้น

ดูเนื้อหาทั้งหมด : ปัญหารถติดแก๊สที่พบบ่อย และวิธีเช็คเบื้องต้น Live สด 30 วัน 30 เรื่อง!!! หงษ์ทองแก๊ส Ep.13

Loading

Loading

Loading

มาตรฐานอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สรถยนต์ รถติดแก๊ส lpg 

สำหรับ รถติดแก๊ส lpg มาตรฐานอุปกรณ์ติดตั้งแก๊สรถยนต์ ตลอดจนมาตรฐานของถังแก๊ส จะถูกกำหนดด้วยมาตรฐาน 2 ส่วน คือ 1.มาตรฐาน ECE 67R-01 เป็นมาตรฐานของต่างประเทศ (มาตรฐานยุโรป) ดังนั้น ถังแก๊สหรืออุปกรณ์แก๊สที่นำเข้ามาจากต่างประเทศต้องมีมาตรฐานนี้ และ 2.มาตรฐาน มอก.370/… เป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย ดังนั้น การเลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งแก๊สรถยนต์ จึงควรเลือกอุปกรณ์ที่ผ่านการทดสอบและได้รับรองมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด  

สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ  

  • ศูนย์บริการมาตรฐานเทียบเท่าศูนย์รถยนต์
  • มาตรฐานการติดตั้งระดับสูง ด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ
  • บริการหลังการขาย (After Service) แบบมืออาชีพ มั่นใจในบริการของเราได้
  • คำนึงถึงปลอดภัยสูงสุด เราเลือกใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบแล้ว มีคุณภาพและปลอดภัย
  • ค่าบริการที่คุ้มค่า มาตรฐานบริการ ลดค่าเชื้อเพลิง (สามารถนำเงินส่วนต่างที่เหลือ ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้มากขึ้น)

บทความที่เกี่ยวข้อง :

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

Loading



Loading