ปก_วาล์วยัน ปัญหาระดับโลก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร

วาล์วยัน ปัญหาระดับโลก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร?

Loading

“วาล์วยัน” ปัญหาระดับโลก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร?

“วาล์วยัน” ปัญหาระดับโลก แท้จริงแล้วเกิดจากอะไร มีวิธีป้องกันอย่างไร? สำหรับการติดแก๊ส lpg หลายคนยังกังวลเพราะมีความเชื่อเก่า ๆ ที่ว่า “ติดทำไมเดี๋ยวเครื่องพัง เครื่องยนต์จะสึกหลอ วาล์วยัน ไม่คุ้มหรอก ฯลฯ”  ซึ่งตอนหาข้อมูลก็ดันไปเจอกระทู้เก่า ๆ ในพันธุ์ทิพย์บ้าง (pantip) หรือที่อื่นบ้าง ทำให้การติดตั้งแก๊ส lpg ดูเป็น “ผู้ร้าย” ซึ่งมันอาจจะมีส่วนในยุคเมื่อ 20-30 ปีก่อนที่วิวัฒนาการของระบบเครื่องยนต์ เทคโนโลยีและอุปกรณ์ติดตั้งแก๊ส lpg ยังไม่ก้าวหน้าเท่าในยุคปัจจุบัน หรือไม่คุณอาจจะไปเจอของถูกที่ไม่ได้คุณภาพ การติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน ก็ไม่แปลกถ้ามันจะเกิดปัญหา ดังนั้น ในบทความนี้ จะปูพื้นความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องของ “อาการวาลฺ์วยัน” ว่าแท้จริงแล้วเกิดจาสาเหตุ/ปัจจัยอะไรบ้าง? อาการวาล์วยันเป็นอย่างไร? ตลอดจนวิธีป้องกันและแก้ไขที่ถูกต้อง

ทั้งนี้ ปัจจุบันการติดตั้งแก๊ส lpg รถยนต์ เป็นที่ยอมรับ ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาน้ำมันพุ่งสูง จากประสบการณ์ของหงษ์ทองแก๊สที่มีลูกค้านำรถมาติดแก๊สนับไม่ถ้วน เราไม่ใช่แค่ร้านติดตั้งแก๊ส หลายคนที่รู้จัก “หงษ์ทองแก๊ส” จะรู้ว่าเราทุ่มเทศึกษารถยนต์แต่รุ่นอย่างละเอียด และร่วมวิจัยพัฒนาเทคโนโลยี อุปกรณ์แก๊ส ตลอดจนไฟล์จูน/การทำรีแมพ อย่างต่อเนื่องมามากกว่า 10 ปี ซึ่งปัญหาเกี่ยวกับ “วาล์วยัน” จริง ๆ ด้วยกลไกการทำงานของเครื่องยนต์ ไม่ว่าคุณจะใช้น้ำมันหรือแก๊ส ก็มีโอกาสที่วาล์วจะยัน หรือบ่าวาล์วเกิดการสึกหลอจากการใช้งานปกติ แต่จะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงประเภทของวาล์วในรถแต่ละรุ่น คนที่บอกว่าติดแก๊สแล้วเครื่องจะพัง วาล์วยัน ส่วนใหญ่ 80% คือคนที่ไม่เคยใช้รถติดแก๊ส  หรือเคยมีประสบการณ์วาล์วยันมาก่อน 

“วาล์วยัน” คืออะไร?

วาล์ว เป็นชิ้นส่วนที่ถูกติดตั้งอยู่ในชั้นของฝาสูบเครื่องยนต์ แบ่งเป็น วาล์วไอดี และ วาล์วไอเสีย ทำหน้าที่เป็นลิ้นเปิด–ปิด ไอดี ไอเสีย ซึ่งแต่ละฝั่งจะอยู่ด้านหน้าของห้องเครื่องยนต์ ในรถยนต์แต่ละรุ่นจะมีจำนวนวาล์วต่างกัน แล้วแต่การออกแบบ ขนาดเครื่องยนต์ จำนวนลูกสูบ เช่น 4 สูบ 16 วาวล์, 4 สูบ 8 วาวล์, หรือ 4 สูบ 4 วาวล์ เป็นต้น ซึ่งในวงจรการทำงานของเครื่องยนต์ แบ่งเป็น 4 จังหวะ “ดูด-อัด-ระเบิด-คาย” ในจังหวะดูด ลูกสูบจะเคลื่อนตัวลง ทำให้อากาศไหลผ่านวาล์วไอดีเข้าไปผสมในห้องเผาใหม้ เมื่อลูกสูบเริ่มเคลื่อนตัวขึ้นจะมีกำลังดันเพื่อจุดระเบิดเรียกว่าจังหวะอัด แล้วเข้าสู่จังหวะระเบิด คือเกิดการจุดระเบิดที่หัวเทียนภายใต้องศาไฟที่เหมาะสมเพื่อส่งกำลังไปยังเครื่องยนต์ จากนั้น เมื่อลูกสูบเคลื่อนตัวลงเป็นจังหวะคาย สุดท้ายไอเสียจะถูกปล่อยออกผ่านวาล์วไอเสียไปยังท่อไอเสีย ซึ่งถ้าเป็นการเผาไหม้ ที่ไม่สมบูรณ์ ส่วนผสมระหว่าง อากาศ (ออกซิเจน) + เชื้อเพลิง + องศาไฟจุดระเบิด จะไม่พอดีกัน แล้วทำให้ม่เหลือเชื้อเพลิงลามไปเผาต่อหน้าวาล์วไอเสีย ดังนั้น คำว่า “วาล์วยัน” ก็คือการสึกหลอของวาล์วไอเสีย ที่เกิดจากการทำงานหนักหรือเผชิญความร้อนสูงเป็นเวลานานเกินไป ทำให้ระยะห่างของวาล์วหรือบ่าวาล์วลดลงและเกิดการกระทบกันจนสึกหลอ

 

เวลาวาล์วไอดีเปิดเอาอากาศเข้า แต่อาการวาล์วยันจะเกิดที่วาล์วไอเสีย เพราะตอนอากาศเข้าไม่มีไฟหรือความร้อน ที่บอกว่าติดแก๊สแล้วเครื่องร้อน จริง ๆ เกิดจากเชื้อเพลิงที่เผาไหม้ไม่หมด และลามไปเผาต่อที่หน้าวาล์วไอเสีย เป็นสาเหตุที่ทำให้ “วาล์วยัน” 

 

“วาล์วรถยนต์” แบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. วาล์วกระเดื่อง เช่น รถในตระกูล Honda เมื่อมีอาการต้องให้ช่างตั้งวาล์วใหม่ (หมุน/ขันวาล์ว) แต่ข้อดีของฮอนด้า ติดแก๊สแล้วไม่ค่อยมีปัญหาเพราะตั้งวาล์วง่าย และถูกรวมอยู่ในรายการซ่อมบำรุง (Maintenance) ของศูนย์รถยนต์ฮออนด้า ดังนั้น จะสังเกตได้ว่า Honda ติดแก๊ส LPG ใช้งานไปแทบจะ 100,000 กม. ไม่เคยเจอปัญหาวาล์วยัน ถ้าคุณเข้าศูนย์ซ่อมบำรุงปกติ เขาจะตั้งวาล์วให้ใหม่ทุก ๆ  40,000 กม. 
  2. วาล์วรูปถ้วย เช่น รถในตระกูล Mazda, Nissan, Toyota ซึ่งการตั้งวาล์วประเภทนี้จะมีความยากแลซับซ้อนขึ้น 
  3. วาล์วไฮดรอลิค (Hydraulic Valve) ตัวนี้จะปรับแต่งค่าเปิด-ปิดวาล์วโดยอัตโนมัติ ทั้งวาล์วไอดีและวาล์วไอเสีย รถที่ใชวาล์วประเภทนี้จะไม่เกิดปัญหาวาล์วยัน เช่น รถในตระกูลวีโก้ Vigo, ฟอร์จูนเนอร์ Fortuner, ไทรทัน Triron 2.4, อัลติสรุ่นใหม่ Altis ที่เป็น Dual VVT-i  

ทำไมใช้น้ำมัน วาล์วไม่ยัน ทำไมใช้แก๊สวาล์วยัน สาเหตเกิดจากอะไร?

อาการวาล์วยัน เกิดจาก 2 สาเหตุที่เป็นปัจจัยสำคัญ คือ 1.ค่าออกเทนของก๊าซ LPG/NGV สูงกว่าน้ำมัน และ 2.การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์

ปัจจัยที่ 1 : ค่าออกเทน เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้

หลายคนเคยได้ยินว่ายิ่งค่าออกเทนสูง ๆ จะทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้น แต่การเอามาใส่ในรถยนต์ โดยที่ไม่ได้ถูกปรับแต่งให้สมบูรณ์ ไม่ได้ทำให้เครื่องยนต์แรงขึ้นนะครับ คำว่า “ออกเทน” เป็นค่ามาตรฐานที่หมายถึง ตัวต้านทานการจุดระเบิด หรือความสามารถในการต้านทานการน็อค (Antiknock Quality) ของเชื้อเพลิง ซึ่งทำให้เครื่องยนต์เขก ดังนั้น ค่าออกเทนยิ่งสูง จึงต้านทานการน็อคได้ดีกว่า 

ค่าออกเทน ของเชื้อเพลิงแต่ละประเภท 

  • น้ำมันเบนซิน 91 ค่าออกเทน = 91%
  • น้ำมันเบนซิน 95 ค่าออกเทน = 95%
  • น้ำมัน E20 (เบนซิน 95 80% + เอทานอล 20%) ค่าออกเทน = 98-104%
  • น้ำมัน E85 ค่าออกเทน 120-130%
  • LPG ค่าออกเทน ประมาณ 105-110%
  • NGV ค่าออกเทน 120-140%

แต่อย่างไรก็ตาม ค่าออกเทนของการผสมสูตรน้ำมันหรือผสมสูตรแก๊สของแต่ละประเทศจะแตกต่างกัน อย่าง NGV บ้านเราที่มาจาก 2 แหล่งคือ ก๊าซธรรมชาติและได้จากการกลั่น ซึ่ง NGV ที่มาจากก๊าซธรรมชาติ จะมีค่าออกเทนสูงมาก เนื้อแก๊สมีคุณภาพดี ส่วนที่ได้จากการกลั่น คุณภาพของเนื้อแก๊สจะด้อยกว่า 

 

 ค่าออกเทนยิ่งสูง ยิ่งจำเป็นต้องใช้องศาไฟจุดระเบิดที่มากขึ้น 

 

ทั้งนี้ คุณสมบัติของเชื้อเพลิงที่ยิ่งมีค่าออกเทนสูง ๆ จะยิ่งมีจุดวาบไฟช้ากว่า อธิบายให้เห็นภาพ เหมือนกับการที่เราเอาน้ำมันหรือเอาเชื้อเพลิงแต่ละประเภทมาใส่แก้ว ในปริมาณที่เท่ากัน แล้วลองจุดไฟเผา จะสังเกตว่า NGV เผาหมดช้าที่สุด ส่วน LPG เผาหมดเร็วกว่า และ 91 เผาหมดเร็วสุด หมายความว่า ระยะเวลาในการจุดระเบิดของเชื้อเพลิงที่ค่าออกเทนยิ่งสูง จะยิ่งเผาไหม้ช้ากว่าและต้องใช้องศาไฟจุดระเบิดที่สูงกว่าด้วย 

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

ย้อนกลับมาที่คำถามที่ว่า ทำไมน้ำมัน วาล์วไม่ยันหรือยันช้ากว่า LPG ง่าย ๆ คือเพราะรถยนต์ถูกออกแบบมาให้ใช้น้ำมัน โดยที่ฝาถังน้ำมันรถแต่ละรุ่นจะระบุประเภทของเชื้อเพลิงที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ได้ ยกตัวอย่าง ปาเจโร่ ใช้เบนซิน 95, E20 ได้ แต่ใช้เบนซิน 91 ไม่ได้ เป็นต้น ส่วนถ้าเป็นรถรุ่นเก่า ๆ  ประมาณ 20 ปีก่อน ก็จะใช้เบนซิน 91, 95 / รถประมาณ 10-15 ปี จะใช้ 91, 95, E20 ได้ / ส่วน E85 ที่เริ่มเห็นใช้ได้ในรถประมาณ 5-10 ปีที่แล้ว รุ่นแรกก็จะเป็นพวกตระกูลมิตซู EX เครื่องยนต์ 1,800 ซีซี แล้วก็ในตระกูลฮอนด้า 

โดยผู้ผลิตรถยนต์ จะรู้ว่าค่าออกเทนน้ำมันอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่ และออกแบบตารางการปรับจูนของ ECU รถทั้งค่าน้ำมันและองศาไฟจุดระเบิดที่เหมาะสมกับน้ำมันเอาไว้แล้ว ทำให้จังหวะในวงจรของระบบลูกสูบ คือ ดูด อัด ระเบิด คาย เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ (เผาเชื้อเพลิงหมดพอดี) ทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง/ได้อัตราเร่งสูงสุดและดีที่สุด และสุดท้ายพอวาล์วไอเสียเปิด จึงมีแต่ไอเสียทิ้งออกไป (ถ้ายังเผาไม่หมดจะมี “แคตตาไลติกคอนเวิร์ตเตอร์” Catalytic Converter ทำหน้าที่เผาไอน้ำมันให้หมดอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ไอเสียมีมลพิษน้อย)

นอกจากนั้นระบบ ECU รถยนต์ ปกติจะมีการปรับแต่งค่าต่าง ๆ ตลอดเวลา +/- ได้ระดับหนึ่ง มีการออกแบบกลยุทธ์ให้อ่านค่าและคำนวณส่วนผสมที่สมบูรณ์ ก็คือ แลมป์ดา = 1 แต่สูตรในการผสมเชื้อเพลิงแต่ละประเภทจะต่างกันตามค่าออกเทน (ใช้เซ็นเซอร์วัดปริมาณแอลกอฮอล์ในน้ำมัน) เช่น ถ้าเป็นน้ำมันเบนซิน ส่วนผสม อากาศ 14.7 ส่วน เชื้อเพลิง 1 ส่วน เป็นต้น อีกทั้งในขณะเหยียบคันเร่งก็มีเซ็นเซอร์ที่เป็นตัวจับออกซิเจน หากอากาศที่เข้าเยอะ/น้อยเกินไป ECU ก็จะคำนวณและปรับค่าการสั่งจ่ายน้ำมันให้เพิ่มเขึ้น/ลดลงตลอดเวลาด้วยความรวดเร็ว นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมใช้น้ำมันวาล์วไม่ยัน/ยันช้า แต่ก็ยังมีรถหลายรุ่นที่ไม่มีแอลกอฮอล์ซ็นเซอร์ หรือระบบเครื่องยนต์/ECU ยังไม่ค่อยทันสมัย ถ้าใช้ E85 มักจะเจอปัญหาเครื่องยนต์สตาร์ทติดยาก

ดังนั้น หากลูกค้าที่จะติดแก๊ส LPG เราแนะนำว่าเวลาเติมน้ำมัน อย่างน้อยควรเป็นแก๊สโซฮอล์ 95 ไม่แนะนำให้เติม E85,E20 เพราะอาจเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ และส่วนใหญ่มักเกิดปัญหา 

 

ปัจจัยที่ 2 : การเผาไหม้หรือการจูนแก๊สที่ไม่สมบูรณ์

อีกปัจจัยที่ทำให้วาล์วยัน คือ การจูนแก๊สที่ไม่สมบูรณ์ บางเกินไป หนาเกินไปก็ไม่ดี ซึ่งหงษ์ทองแก๊สเรามุ่งทำการวิจัยและพัฒนาเรื่องนี้มาไม่ต่ำกกว่า 10 ปี นั่นก็คือ การทำรีแมพอีซียู หรือการปรับจูนตั้งค่าส่วนผสมต่าง ๆ ทั้งแก๊สและน้ำมันที่เหมาะสมกับรถยนต์แต่ละรุ่น ตลอดจนความต้องการใช้งานของลูกค้า ด้วยเทคนิคการรีแมพที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหงษ์ทองแก๊ส ทำให้เกิดการเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์ แก้ไขอาการวาล์วยัน ยืดอายุการสึกหลอของเครื่องยนต์ ปลอดภัย ประหยัดมากกว่าเดิม และคุ้มค่าการใช้งานสูงสุด 

Remap ECU เทคนิครีแมพอีซียู หงษ์ทองแก๊ส Click!

Loading

สัญญาณบอก “อาการวาล์วยัน” รู้ได้อย่างไร?

วิธีเช็คหรือสังเกต “อาการวาล์ยัน” รู้เร็วเสียเงินน้อย รู้ช้าเสียเงินเยอะ โดยสัญญาณที่เป็นตัวบ่งบอกให้เรารู้ว่า รถเริ่มมีอาการวาล์วยัน แบ่งอกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 

STEP 1 – สังเกตตอนสตาร์ทครั้งแรกในช่วงเช้า (เครื่องเย็น) อุณหภูมิน้ำปกติประมาณ 30-35 องศา พอสตาร์ทเสร็จ รอบจะขึ้นไปอยู่ที่ประมาณ 1,500 รอบก่อน เนื่องจากรถทุกรุ่นต้องการโช็คให้รอบสูงเพื่อให้น้ำในหม้อน้ำเร็ว ในจังหวะนั้น ECU รถจะจ่ายเชื้อเพลิงหนามากเพื่อเร่งให้รอบสูงขึ้นอุ่นให้เครื่องร้อน แล้วค่อย ๆ ตกลงมา จนอยู่ที่ประมาณ 700-800 รอบ (แล้วแต่รุ่นรถ) แต่ถ้าเริ่มมีอาการวาล์วยัน ตอนสตาร์ทรอบจะต่ำไม่โช็คสูง กล่าวคือพอสตาร์ทรอบขึ้นไปถึง 1,500 รอบ แล้ววูบตกลงมา พอขับไปสักระยะเครื่องเริ่มร้อน (1-2 นาที) อาการเครื่องสั่นก็จะหายไป ซึ่งจะเป็นแบบนี้อยู่ประมาณ 1-2 เดือน หรือราว ๆ 5,000 กม. แต่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้สึกจนยันหนักขึ้นเรื่อย ๆ การแก้ไขในสเต็ปนี้ทำได้ด้วยการตั้งวาล์วใหม่ เต็มที่ไม่เกิน 2-3 รอบ

STEP 2 – ตอนเช้าสตาร์ทติดยาก รอบต่ำไม่โช็ค เครื่องทำท่าจะดับ หรือ เครื่องร้อนแล้ว แต่ยังสั่นอยู่  สมมติว่าระยะห่างวาล์ว ปกติอยู่ที่ประมาณ 0.25 มิล ในสเต็ปนี้ระยะห่างอาจจะลดลง เหลืออยู่ประมาณ 0.1-0.15 มิล ตอนเครื่องร้อนก็เริ่มจะสั่นนิดๆ หรืออาจจะสังเกตตอนเปิดแอร์ กำลังขับอยู่ รถติดไฟแดง แล้วเข้าเกียร์ว่างเครื่องจะเริ่มสั่นเบา ๆ พอเข้าเกียร์ออกตัวจะสั่นมากขึ้น ซึ่งอันที่จริงอาการนี้เป็นทั้งน้ำมันและแก๊ส โดยจะเป็นอยู่ไม่เกิน 1 เดือน การแก้ไขทำได้ด้วยการตั้งวาล์วใหม่ แต่อาจจะได้แค่ 1-2 ครั้ง ก่อนจะเข้าสู่สเต็ปที่ 3 หนักสุดคือต้องเปลี่ยนวาล์ว ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 

STEP 3 – เครื่องร้อน สั่นหนัก เหมือนเครื่องยนต์หายไป 1 สูบ ถ้าปล่อยไว้ให้ยันขั้นสุด มันจะยันจนฝาสูบรั่ว ทำให้กำลังอัดหายไป ผลคือต้องรื้อฝาสูบออก เช็คระบบเครื่องยนต์ทั้งหมด แล้วเปลี่ยนวาล์วใหม่ ตลอดจนน้ำมันเครื่อง น้ำยาหล่อเย็น ซีนโอริง ฯลฯ แล้วแต่รุ่นรถและอาการ

การป้องกันและแก้ไข “วาล์วยัน” ที่ถูกต้อง

วิธีป้องกัน “วาล์วยัน” คือ การเช็คระยะซ่อมบำรุงตามปกติ และควรเปลี่ยนกรองแก๊สทุก ๆ 20,000-40,000 กม. เพราะการใช้น้ำมันหรือแก๊สที่มีคุณภาพ (ไม่สกปรก) บวกกับกรองแก๊สที่มีคุณภาพร่วมด้วย จะช่วยยืดอายุการใช้งานของทั้งหัวฉีด วาล์ว และเครื่องยนต์ได้ดีขึ้น นอกจากนั้น อย่างที่บอกว่า การปรับจูนแก๊ส คือ “บทสรุปของทุกอย่าง” เพราะทำให้สามารถเห็นสภาพการทำงานของรถยนต์ทั้งระบบ ทราบทันทีว่าตรงไหนที่เกิดปัญหาและแก้ไขได้ตรงจุด โดยแนะนำให้ผู้ใช้รถหรือรถติดแก๊ส ควรตรวจสภาพหรือเช็คระยะซ่อมบำรุงตามคำแนะนำในคู่มืออยู่เสมอ จะทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ ยังทำงานได้อย่างสมบูรณ์ การปรับจูนแก๊สก็จะยิ่งมีความแม่นยำมากขึ้น แก๊สไม่หนาหรือบางเกินไป หรืออาจไม่จำเป็นต้องปรับจูนเลยก็ได้ ซึ่งหงษ์ทองแก๊ส เราใช้วิธีการปรับจูนแก๊สด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยทีมช่างที่มีความรู้ความชำนาญพิเศษ โดยเฉพาะสำหรับรถติดแก๊ส อีกทั้งยังมีการนำรถขึ้นไปรถสอบกำลังหรือสมรรถนะบนเครื่อง Dyno Test ยิ่งทำให้เราสามารถปรับจูนค่าต่าง ๆ ในระบบ ความหนาบางของแก๊ส ฯลฯ ได้อย่างสมบูรณ์ ละเอียดและแม่นยำสูง ถือเป็นจุดแข็งที่ทำให้หงษ์ทองแก๊สแตกต่างจากที่อื่น

สิ่งที่ลูกค้าจะได้รับ ติดแก๊ส LPG กับหงษ์ทองแก๊ส “รับประกันคุณภาพคุ้มราคา”

  • ศูนย์บริการมาตรฐานเทียบเท่าศูนย์รถยนต์
  • มาตรฐานการติดตั้งระดับสูง ด้วยทีมช่างผู้เชี่ยวชาญ
  • บริการหลังการขาย (After Service) แบบมืออาชีพ มั่นใจในบริการของเราได้
  • คำนึงถึงปลอดภัยสูงสุด เราเลือกใช้อุปกรณ์ที่ตรวจสอบแล้ว มีคุณภาพและปลอดภัย
  • ค่าบริการที่คุ้มค่า มาตรฐานบริการ ลดค่าเชื้อเพลิง (สามารถนำเงินส่วนต่างที่เหลือ ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นได้มากขึ้น)

บทความที่เกี่ยวข้อง :

 

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียด

 

Loading



Loading